วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฏีการเรียนรู้ของออซูเบล

ออซูเบล
ประวัติ
ออซูเบล  เป็นนักจิตวิทยาแนวปัญญานิยมที่แตกต่างจากเพียเจต์และบรูเนอร์ เพราะออซูเบลไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างทฤษฎีที่อธิบายการเรียนรู้ได้ทุกชนิด
ทฤษฎีของออซูเบลเป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เรียกว่า "Meaningful Verbal Learning" เท่านั้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฎในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียนในโครงสร้างสติปัญญา(Cognitive Structure) หรือการสอนโดยวิธีการให้ข้อมูลข่าวสาร ด้วยถ้อยคำ


ทฤษฎีของออซูเบล
-เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจและมีความหมาย
- การเรียนรู้อย่างมีความหมาย  นั่นคือ ผู้เรียนได้เชื่อมโยง(Subsumme) สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่ หรือข้อมูลใหม่ กับความรู้เดิมที่มีมาก่อน
ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
ออซูเบล ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้
 -การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย
-การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจำโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้วนกขุนทอง
-การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย
 -การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิด หรือแบบนกแก้วนกขุนทอง
ความหมายการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
เป็นการเรียนที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอน อธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ
การเรียนรู้อย่างมีความหมายขึ้นอยู่กับตัวแปร 3 อย่าง ดังต่อไปนี้
-สิ่ง (Materials) ที่จะต้องเรียนรู้จะต้องมีความหมาย
          -ผู้เรียนจะต้องมีประสบการณ์และมีความคิดที่จะเชื่อมโยง
-ความตั้งใจของผู้เรียนและการที่ผู้เรียนมีความรู้ คิดที่จะเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างพุทธิปัญญา
ประเภทของการเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย
1. Subordinate learning  เป็นการเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย โดยมีวิธีการ 2 ประเภท คือ
                    1.1 Deriveration Subsumption
                    1.2 Correlative subsumption
2. Superordinate learning  เป็นการเรียนรู้โดยการอนุมาน
3. Combinatorial learning เป็นการเรียนรู้หลักการ กฎเกณฑ์ต่างๆเชิงผสม

Advance organizer           เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายจากการสอนหรือบรรยายของครู
           ออซูเบลถือว่า Advance Organizer มีความสำคัญมากเพราะเป็นวิธีการสร้างการเชื่อมช่องว่างระหว่างความรู้ที่ผู้เรียนได้รู้แล้ว(ความรู้เดิม)กับความรู้ใหม่ที่ได้รับ
หลักการทั่วไปที่นำมาใช้ คือ
-การจัดเรียบเรียงข้อมูลข่าวสารที่ต้องการให้เรียนรู้ออกเป็นหมวดหมู่
          -นำเสนอกรอบ หลักการกว้าง ก่อนที่จะให้เรียนรู้ในเรื่องใหม่
          -แบ่งบทเรียนเป็นหัวข้อสำคัญ และบอกให้ทราบเกี่ยวกับหัวข้อสำคัญที่เป็นความคิด รวบยอดใหม่ที่ต้องเรียน

สรุป
ออซูเบล เป็นทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญา เน้นความสำคัญของผู้เรียน ออซูเบลจะสนับสนุนทั้ง Discovery และ Expository technique ซึ่งเป็นการสอนที่ครูให้หลักเกณฑ์ และผลลัพธ์ ออซูเบลมีความเห็นว่าสำหรับเด็กโต (อายุเกิน11หรือ 12 ปี)นั้น การจัดการเรียนการสอนแบบ Expository technique น่าจะเหมาะสมกว่าเพราะเด็กวัยนี้สามารถเข้าใจเรื่องราว คำอธิบายต่างๆได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น